How to เขียน SOP ให้ปัง! (Statement of Purpose)
- F Thitiyathorn
- Jun 30
- 1 min read
Updated: Jul 1

น้องๆ ที่กำลังเตรียมสมัครเรียนต่อหลักสูตรอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นที่จุฬา ธรรมศาสตร์ หรือ MUIC เคยได้ยินคำว่า SOP หรือ Statement of Purpose กันใช่มั้ย มันคือจดหมายแนะนำตัวที่เราต้องเขียนเพื่อบอกให้มหาวิทยาลัยรู้ว่าเราคือใคร ทำไมถึงอยากเข้าเรียน และมีเป้าหมายยังไงในอนาคต
วันนี้พี่จะมาบอกวิธีเขียน SOP ให้ปัง! ที่อ่านแล้วมหาวิทยาลัยอยากจะรับน้องเข้าเรียนทันทีเลย!
1. เริ่มต้นยังไงดี?
เปิดเรื่องให้น่าสนใจ
อย่าเริ่มด้วย "My name is..." แบบทั่วๆ ไป เพราะ SOP คือการทำให้มหาวิทยาลัยอยากรู้จักเรา! ลองเปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่สำคัญในชีวิต หรือประสบการณ์ที่ทำให้น้องๆ ตัดสินใจเลือกเรียนคณะนั้น
ตัวอย่าง:
"Ever since I participated in a national science competition, I realized my passion for research and problem-solving, which solidified my decision to pursue this field further."
2. อธิบายตัวเองให้ชัดเจน
เล่าถึงตัวน้องๆ
ส่วนนี้คือโอกาสที่จะแสดงให้อาจารย์เห็นว่าเราเป็นใคร และทำไมเราถึงเหมาะกับหลักสูตรนี้ น้องๆ ต้องเล่าถึงประสบการณ์ หรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สมัคร เช่น การทำโครงงาน การฝึกงาน หรือกิจกรรมที่ได้เรียนรู้อะไรที่มีประโยชน์ต่อการเรียน
Tip: พยายามใช้ active voice และหลีกเลี่ยงคำเยิ่นเย้อ เล่าให้ชัดและตรงประเด็น เช่น "I gained valuable communication and problem-solving skills during "
3. ทำไมถึงอยากเข้าเรียนที่นี่?
เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย
น้องๆ ควรแสดงให้เห็นว่าเรารู้จักและเข้าใจหลักสูตรที่สมัครอย่างดี ไม่ใช่แค่บอกว่าอยากเรียน แต่ต้องอธิบายด้วยว่าเพราะอะไรหลักสูตรนี้ถึงเหมาะกับเรา และเราจะเอาไปต่อยอดยังไงในอนาคต
ตัวอย่าง:
"The International Business Management program at Thammasat University emphasizes strategic analysis in a global context, aligning perfectly with my interest in managing businesses in the era of globalization."
4. พูดถึงเป้าหมายในอนาคต
เล่าว่าอยากทำอะไรต่อไป
มหาวิทยาลัยอยากรู้ว่าน้องๆ มีเป้าหมายอะไรหลังจากเรียนจบ SOP ที่ดีต้องแสดงให้เห็นว่าน้องมีแผนในชีวิตและรู้ว่าหลักสูตรนี้จะช่วยพัฒนาอะไรในตัวเราได้บ้าง
ตัวอย่าง:
"After completing my studies, I plan to work with international NGOs to improve education access in rural areas, leveraging the knowledge and experience I gained from this program."
5. ภาษาเขียนต้องเป๊ะ
เขียนให้ชัดเจนและกระชับ
ภาษาอังกฤษใน SOP ควรจะชัดเจน กระชับ และตรงประเด็น หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคซับซ้อนเกินไป และตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์ รวมถึง proofread หลายๆ รอบ
Tip: ลองใช้เครื่องมือตรวจสอบไวยากรณ์อย่าง Grammarly เพื่อเช็คความถูกต้องของประโยค และอย่าลืมให้เพื่อนหรือครูช่วยอ่านให้ด้วยนะ
เคล็ดลับสำคัญ
Personalize SOP: อย่าคัดลอก SOP ของคนอื่น! SOP ของน้องๆ ควรสะท้อนตัวตนและประสบการณ์ของเราเอง
เขียนแล้วแก้: อย่าคิดว่าเขียนครั้งเดียวแล้วจบ! SOP ต้องมีการปรับแก้หลายรอบเพื่อให้สมบูรณ์แบบ
ความมั่นใจ: แสดงความมั่นใจในทักษะและความสามารถของเราให้เต็มที่
ให้คนอื่นช่วยตรวจ: บางทีตัวเราอ่านเองคนเดียวอาจจะเผลอมองข้ามอะไรไป ลองให้เพื่อนหรือรุ่นพี่ช่วยเช็ค ก็จะทำให้เราเห็นจุดที่เราพลาดไปได้
การเขียน SOP ที่ดีเป็นโอกาสที่จะแสดงให้อาจารย์เห็นว่าเราคือผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้น ขอให้น้องๆ ตั้งใจเขียนด้วยใจจริง และเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองนะ!
มันอาจดูยากในตอนแรก แต่น้องๆ จะผ่านไปได้แน่นอนถ้ารู้วิธีและเตรียมตัวมาอย่างดี
ถ้าน้อง ๆ อยากได้ความช่วยเหลือในการเขียน แนะนำ และตรวจ SOP พี่ ๆ ที่ไพร์มยินดีดูแลน้า
ติดต่อที่ไลน์ @primebym ได้เล้ย
โชคดีนะน้องๆ ทุกคน!